วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเกษตร : การจัดการสุกรอนุบาล

 การจัดการสุกรอนุบาล

   1.  โรงเรือนคอกและอุปกรณ์
 
         1.1  ขนาดโรงเรือนหรือห้อง  ควรมีความจุเท่ากับจำนวนลูกสุกรหย่านมในวันหรือสัปดาห์เดียวกัน  เพื่อให้รับลูกสุกรอายุ
ต่าง กันไม่เกิน 1 สัปดาห์  ควรเป็นระบบเข้า-ออก  หมดพร้อมกัน

 
         1.2  คอกอนุบาล ควรจะเลี้ยงประมาณไม่เกิน 25 ตัวต่อคอก  โดยมีพื้นที่เลี้ยง 0.3 ตารางเมตรต่อตัว
 
         1.3  อุปกรณ์ที่ใช้
                   -  ที่ให้อาหาร มี 2 แบบ

                 
-  แบบรางยาว  ต้องให้อาหารวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละน้อย
                 -  แบบถังอาหารอัตโนมัติ  ใส่อาหารในถังให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง  ถังอาหาร 1 ถัง ใช้เลี้ยงลูกสุกร ได้จำนวน
ต่างกันขึ้นอยู่กับแบบของถังอาหาร
                   -  ที่ให้น้ำลูกสุกร

                 -  ถ้วยกินน้ำแบบจุ๊บ (Cup Nipple) น้ำจะไหลก็ต่อเมื่อลูกสุกรไปดัน หรืองับ Nipple โดยมีถ้วยรองรับ
                           Cup Nipple  ควรอยู่สูงจากพื้นประมาณ 10 เซนติเมตร
                           Cup Nipple  1 หัว  เลี้ยงลูกสุกรได้ 10-15 ตัว
                 -  จุ๊บน้ำ ( Nipple) ควรอยู่สูงจากพื้นคอกประมาณ 30 เซนติเมตร
                           Nipple  1 หัว  เลี้ยงลูกสุกรได้ 10-15 ตัว
                   -  ที่กกลูกสุกร  เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกร ในช่วงสัปดาห์แรกของการหย่านม

   2.  การเตรียมคอกเพื่อรับลูกสุกร
       
   2.1  ล้างคอก พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามอัตราส่วนของยาที่ใช้  และพักคอกประมาณ 7 วัน ก่อนนำลูกสุกรเข้าโรงเรือน 
       
   2.2  ตรวจสอบสภาพจุ๊บกินน้ำว่าน้ำไหลหรือไม่ (ควรใช้จุ๊บของลูกสุกร)
          2.3  ตรวจสอบระบบให้ความอุ่นแก่ลูกสุกร
          2.4  ตรวจสอบระบบพัดลมดูดอากาศว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ โดยเฉพาะโรงเรือนระบบปรับอากาศแบบระเหยน้ำ
(Evaporative Cooling System)

          2.5  ติดตั้งอุปกรณ์การให้อาหาร

   3.  
การดูแลลูกสุกรในโรงเรือนอนุบาล
            
การควบคุมและปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน  เพื่อให้เหมาะสมกับลูกสุกรแต่ละอายุเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้น
การควบคุมอุณหภูมิและการระบายอากาศภายในโรงเรือนจึงจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของลูกสุกร
          3.1  อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับลูกสุกรแต่ละช่วงอายุ
               
ประเภท       อายุ                       อุณหภูมิที่เหมาะสม
                 ลูกสุกร               3 สัปดาห์                    33-34 องศาเซลเซียล                     
                                          4 สัปดาห์                    32-33 องศาเซลเซียล    
                                          5 สัปดาห์                    31-32 องศาเซลเซียล                      
                                      6-7 สัปดาห์                     32-33 องศาเซลเซียล     
                                      8-9 สัปดาห์                     27-29 องศาเซลเซียล 
          3.2  ลูกสุกรที่หย่านมใหม่ในสัปดาห์แรก    
                 -  
ควรปรับอุณหภูมิ ภายในคอกอนุบาล  อยู่ที่ 33-34 องศาเซลเซียล โดยอาจจะต้องใช้ระบบไฟฟ้ากกเข้าช่วย
                 -  มีวัสดุรองพื้น  เพื่อเพิ่มความอบอุ่นแก่ลูกสุกร
                 -  ลูกสุกรที่หย่านมมาในวันแรก  ควรคัดขนาด แยกเพศ และฝึกให้รู้จักที่กินน้ำโดยเร็วที่สุด โดยใช้เศษไม้ขัด
กับจุ๊บน้ำ  หรือใช้หนังสติ๊กรัดให้นน้ำไหลออกจากจุ๊บเล็กน้อย  และควรมีอ่างน้ำช่วยให้ลูกสุกรกินน้ำได้ง่าย  จนกว่าลูกสุกรจะ
กินน้ำจากจุ๊บเป็น
          3.3  ผลกระทบต่อลูกสุกรในกรณีที่อุณหภูมิต่ำเกินไป    
                 -  การนอนสุ่มกัน (Pilling)

                 -  ขนหยาบ (Rough Hair)
                 -  ถ่ายไม่เป็นนที่
                 -  ก้นทะลัก (Rectal Prolapsed)
                 -  สุขภาพไม่ดี ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดโรค (Disease Increasing)

   4.  การตรวจสุขภาพ
       
   4.1  ต้องตรวจสอบสุขภาพของลูกสุกรทุกวัน  
          4.2  มีการจดบันทึก การตรวจสอบสุขภาพ บันทึกการใช้ยา
          4.3  สังเกตดูการนอนของลูกสุกรว่านอนสุมหรือไม่ ถ้าลูกสุกรนอนสุม จะต้องปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้สูงขึ้น
          4.4  จดบันทึก การกินอาหาร/ตัว/วัน
          4.5  ทำความสะอาด กำจัดมูลสุกรทุกวัน เพื่อลดปัญหาแก๊สในโรงเรือน

   5.  การให้อาหาร
            ควรให้อาหารครั้งละน้อย ๆ บ่อย ๆครั้ง ไม่ให้อาหารขาด ลูกสุกรต้องมีอาหารกินอยู่ตลอดเวลา  และอาหารต้อง
ใหม่สดเสมอ ควรให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสมกับอายุของลูกสุกร


1 ความคิดเห็น: