วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเกษตร : การติดตา

การติดตา
การติดตา
เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นำเอาส่วนตาหรือกิ่งของพืชต้นหนึ่ง
ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ดีหรือ  กิ่งพันธุ์ดี  ไปติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง
เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ส่วน ต้นตอ
ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบราก นั้น เป็นต้นพืชที่มีความแข็งแรง หาอาหารเก่ง
เจริญเติบโตเร็ว  ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี  
พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตา มีทั้งไม้ดอก
ไม้ประดับและไม้ผล

การติดตา
เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญทางด้านการช่วยเปลี่ยนยอดต้นพืชที่มีลักษณะไม่ดี
ให้เป็นพันธุ์ดีได้  ทำให้พันธุ์พืชมีความแข็งแรง ต้านทานศัตรูและความแห้งแล้งได้ดี
เพราะมีต้นตอที่แข็งแรง  สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก
เพราะกิ่งพันธุ์แต่ละกิ่งจะมีหลายตา  นอกจากนี้
ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธุ์ไม้ด้วย โดยเฉพาะการผลิตพืชแฟนซี
ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตหลายอย่างในต้นเดียวกัน เช่น มะม่วงอกร่องมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้ ในต้นเดียวกัน  หรือไม้ดอก เช่น กุหลาบ
จะมีดอกหลายสีในต้นเดียวกัน ฯลฯ  ทั้งนี้ การติดตา สามารถ ทำได้สะดวก รวดเร็ว
โดยสามารถนำตาจากกิ่งพันธุ์ดี จากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีกแหล่งหนึ่งได้
แต่อาจต้องใช้เวลาในการบังคับและเลี้ยงตาใหม่ให้เป็นต้นพืช  ยาวนานกว่าการต่อกิ่ง
ดังนั้นผู้ที่ทำการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการติดตา ได้ดี
ต้องมีความชำนาญและประณีตในการขยายพันธุ์


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตา
ได้แก่

1)  ต้นตอ
หมายถึง  ส่วนของต้นพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบราก  หาอาหารหล่อเลี้ยงต้นพืชมี 2ชนิด คือ

(1)  ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด
     (2)  ต้นตอที่ได้จากการตัดชำ  ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อ
           (1)  ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด    ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน  ทุเรียน  มะขาม  เป็นต้น   ต้นตอที่มีลักษณะดี  จะต้องมีลำต้นตั้งตรง  ไม่บิดคด หรือมีรอยต่อระหว่างต้นและราก เป็นแบบคอห่าน  ซึ่งเกิดจากการวางเมล็ดลงเพาะผิดวิธี
           (2)  ต้นตอที่ได้จากการตัดชำ  ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อ บางครั้งเรียกว่า  ต้นตอตัดชำ ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ เช่นกุหลาบ ชบา เข็มโกสน เฟื่องฟ้า ผกากรอง โมก  เป็นต้น ข้อเสียของต้นตอตัดชำ คือ มีระบบรากตื้น แต่ถ้านำไปเป็นต้นตอสำหรับไม้ผล  จะต้องทำการเสริมราก
เพิ่มขึ้น
การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น ต้นตอ   ควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้

(1) เจริญเติบโตเร็ว  ปราศจากโรคและแมลง
และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
(2) ขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งด้วยวิธีเพาะเมล็ด  ตัดชำหรือตอนกิ่ง
(3) สามารถเชื่อมต่อกับกิ่งพันธุ์ดีต่าง ๆ ได้มาก
(4) หาเมล็ดหรือต้นได้ง่าย
(5)  เป็นพืชที่มีความบริสุทธิ์ของพันธุ์สูง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด

2)  ตาจากกิ่งพันธุ์ดี    หมายถึง
ส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบยอดในต้นพืช
สำหรับการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา

การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น กิ่งพันธุ์ดี  
ควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้

(1) เป็นกิ่งที่มีตาแข็งแรง  ไม่ว่าจะเป็นตายอดหรือตาข้าง
(2) ควรเลือกจากกิ่งกระโดง หรือกิ่งน้ำค้าง
(3) เป็นกิ่งที่มีความสมบูรณ์ปานกลาง  โดยสังเกตจากข้อ ที่ไม่ถี่หรือห่างเกินไป
(4) ตาของกิ่งพอเหมาะ  คือ มีขนาดพอประมาณเท่าดินสอดำ
(5) เป็นกิ่งที่ได้จากต้นแม่ที่แข็งแรง  สมบูรณ์ ไม่มีโรค
(6) ถ้าเป็นกิ่งแก่  ควรมีอายุไม่เกิน  1  ปี  เพราะถ้าอายุมากเกินไป
ตาที่ติดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร

การติดตาแบบตัวที (T. budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาต้นพืชแบบตัวที

๑. ต้นตอจะต้องมีเปลือกล่อนสามารถลอกเปลือกต้นตอได้ง่าย

๒. ต้นตอไม่ควรมีขนาดโตเกินไป ควรจะมีขนาดเท่าดินสอดำหรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว

๓. ไม่เป็นพืชที่มีเปลือกบาง หรือเปลือกเปราะ หรือมีเปลือกหนาเกินไป

๔. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชทั่ว ๆ ไป เช่น ใช้กับกุหลาบ พุทรา ส้ม เป็นต้น

วิธีติดตาแบบตัวที


ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอบริเวณที่เป็นปล้องแล้วกรีดเปลือกให้ถึงเนื้อไม้เป็นรูปตัวที (T) โดยให้หัวของตัวทีที่กรีดยาวประมาณ ๑/๒ นิ้ว และความยาวของตัวทียาว 1 -1.1/2 นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของต้นตอ

๒. ใช้ปลายมีดแงะบริเวณหัวตัวทีให้เปลือกเผยอเล็กน้อย แล้วล่อนเปลือกของต้นตอด้วยปลายเขาที่ติดอยู่ที่ด้ามมีด

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย ในกรณีที่พืชนั้นมียางควรจะลอกเนื้อไม้ทิ้งเพื่อให้มีบริเวณของการเกิดรอยต่อมากขึ้น

ค. การสอดกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอ

๑. สอดแผ่นตาลงบนแผลรูปตัวทีที่เตรียมไว้ แล้วค่อย ๆ กดแผ่นตาลงไปในแผลให้สนิทและลึกราว ๑/๒ นิ้ว เหนือตา

๒. ถ้าเปลือกแผ่นตายังเหลือเลยหัวตัวทีให้ตัดส่วนที่เหลือออกพอดีกับหัวตัวที

๓. ใช้ผ้าพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นขนาดกว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาวราว ๒๐-๒๕ ซม. พันทับแผ่นตาให้แน่น และควรพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน

๔. หลังจาก ๑๐ วัน จึงตรวจ ถ้าตาใดยังสดก็แสดงว่าติด จึงเปิดผ้าพันตาแล้วพันใหม่ให้คร่อมตา

ภาพการติดตาแบบตัวที





การติดตาแบบชิพ (chip budding)
สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบชิพก็คือ

๑. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชที่ลอกเปลือกไม่ได้ เป็นพืชพืชที่มีเปลือกบางหรือเปลือกหนาหรืออยู่ในระยะพักตัว

๒. มักใช้กับพืชที่ไม่มียาง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นตอประมาณ ๒/๓ -๑/๒ นิ้ว

๓. มักใช้ในการติดตา องุ่น ชบา ฯลฯ

วิธีติดตา ปฎิบัติดังนี้ (modified chip)

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอที่เปลือกติด หรือที่ชะงักการเจริญ

๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และยาวประมาณ ๑ นิ้ว

๓. เฉือนตัดขวางให้จดโคนแผลที่เฉือนครั้งแรก โดยให้รอยเฉือนนี้ทำมุม ๔๕ องศา กับลำต้นแล้วแกะชิ้นส่วนของพืชที่เฉือนออก

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

เฉือนแผ่นตาบนกิ่งพันธุ์ดีให้มีความยาวเท่ากับรอยแผลที่เตรียมบนต้นตอ โดยกะให้ตาอยู่ตรงกลางพอดี

ค. การสอดแผ่นตา

๑. ประกอบแผ่นตาบนต้นตอ โดยให้เยื่อเจริยด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านสัมผัสกับเยื่อเจริญของต้นตอ

๒. ใช้ผ้าพลาสติกพันตา เช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวที


การติดตาแบบชิพ (chip budding)
การติดตาแบบเพลท (Plate budding)
สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบเพลท คือ

๑. มักใช้กับต้นตอที่มีขนาดโต คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑/๒ ๑ นิ้ว

๒. ต้นตอต้องลอกเปลือกได้หรือมีเปลือกล่อน

๓. เป็นพืชที่มีเปลือกหนาและเหนียวพอสมควร

๔. นิยมใช้กับพืชมียาง เช่น มะม่วง ขนุน ยางพารา หรือพืชบางชนิดที่เกิดเนื้อเยื่อช้า เช่น มะขามหรือน้อยหน่า เป็นต้น
วิธีติดตาแบบเพลท

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำแผลให้เป็นปล้องที่เรียบและตรง

๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานเปิดดังภาพ

๓. เผยอเปลือกต้นตอออกจากเนื้อไม้ ทางด้านบนหรือด้านล่างของรอยกรีด แล้วลอกเปลือกขึ้นหรือลงตามรอยกรีดที่เตรียมไว้แล้ว

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

เฉือนแผ่นตากิ่งพันธุ์ดีให้เป้นรูปโล่ ยาวประมาณ 1 นิ้ว แล้วแกะเนื้อไม้ออก

ค. การสอดแผ่นตาบนแผลของต้นตอ

๑. ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ จัดแผ่นตาให้อยู่กลางแผลแล้วประกอบแผ่นเปลือกของต้นตอทับแผ่นตา แต่ถ้าใช้ตาอ่อนจะต้องตัดแผ่นเปลือกต้นตอตอนบนออก ๓ ส่วนเหลือไว้ ๑ ส่วน

๒. พันผ้าพลาสติกเช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวทีหรือแบบชิพ และต้องใช้พลาสติกใส เมื่อใช้ตาอ่อน

แหล่งที่มา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น