วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

iPhone 4 Review ตอนที่ 3 การตัดต่อด้วย iMovie



ที่มา : https://youtu.be/or8ZEHwVanc

สอนเล่นแอป viva video



ที่มา : https://youtu.be/HEICEWf8U2I

How to add background music to video fx live



ที่มา : https://youtu.be/hahGwbPBQWM

สอน Sony Vegas Pro - ลดเสียงรบกวนในวีดีโอ



ที่มา : https://youtu.be/QyB9KPeVUko

มุมกล้องภาพยนตร์





ที่มา : https://youtu.be/Qpb70kLonmU

เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้นแต่ง่ายๆ


        ขั้นแรก หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
        ขึ้นสอง หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิคครับ
        ขั้นสาม เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
        ขั้นสี่  บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา เรื่องบทจะมี หลายแบบ เช่น
                           - บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดอ่ะครับ
                           - บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
                           - บทแบบเฉพาะ   (ไม่จำเป็นหรอก)
                           - บทแบบร่างกำหนด (ไม่จำเป็นอีกแหละ)
        ขั้นห้า การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  (รายละเอียดท่าสนใจเข้ามาคุยนะครับ)
        ขั้นหก ค้นหามุมกล้อง
                  - มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆอ่ะครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
                  - มุมแทนสายตา ไม่ต้องอธิบายมั้ง
                  - มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ
        ขั้นเจ็ด การเคลื่อนไหวของกล้อง (พูดรวมๆนะถ้าจะเอาละเอียดเข้ามาคุยกัน)
                  - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันกันครับ
                  - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลยครับ
                  - การซูม เป็นการเปลียนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้ความสนใจในจุดๆหนึ่ง
        ขั้นแปด เทคนิคการถ่าย (เออผมจะอธิบายไงดีเนี้ยมันเยอะมากอ่ะครับ)
                     เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นอ่ะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ถ้าอยากทราบเทคนิคการถ่ายแบบละเอียดก็ เข้ามาถามละกันนะครับ ผมต้องใช้ประสปการณ์ตรงอธิบายอ่ะ
       ขั้นเก้า หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
        ขั้นสิบ การตัดต่อ (เยอะมากครับอธิบายรวมๆละกัน)
               อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารณ์
               อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ
               อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ
               อย่างสี่ เพิ่มทคนิคให้ดูสวยงาม(เดียวจะอธิบาย)
               อย่างห้า เรื่องเสียง(เดียวจะอธิบาย)
 เอาละครับขั้นการตัดต่อและมาดูละกันการตัดต่อเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง
              - การตัด cut
              - การเฟด fade
              - การทำภาพจางซ้อน
              - การกวาดภาพ
              - ซ้อนภาพ
              - ภาพมองทาจ
        โปรแกรมที่จะนำมาใช้ ผมแนะนำดังต่อไปนี้นะครับ
        1. movie maker (Xp ก็มีมาให้แล้ว) ตัดต่อเบื้องต้นครับ ตัวเชื่อมเฟรมค่อนข้างน้อย ไม่แนะนำนะครับ
        2. Sony vegas 7.0 ค่อยดีขึ้นมาหน่อย การทำงานค่อนข้างละเอียดครับ มีลุกเล่นเยอะมากมาย(แนะนำสำหรับมือใหม่ครับ)
        3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆครับใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็นสามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆเรื่องนึงเลยนะครับ แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่ (ถ้าอยากใช้ก็หาเอาแล้วกันนะครับ)


[เทคนิค] ถ่ายวีดีโอสวย Ep1





ที่มา : https://youtu.be/HjPyJX_fJ84

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสร้างวิดีโอ


               การสร้างคลิปวีดีโอนั้น แม้ว่าเรามาภาพต้นฉบับดีๆ วีดีโอสวยๆ มีเสียงเพลงเพราะๆ มีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ดี ก็ใช่ว่าเราจะสร้างงานออกมาแล้วจะดีไปด้วย ความน่าสนใจของคลิปวีดีโอ ต้องอาศัยจินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์ ในทุกๆ ขั้นตอนของกระบวนการ"ผลิต" โดยหลักการทางทฤษฎีแล้วประกอบด้วย 3 ขั้นตอน หรือ 3 P
        - Pre-Production คือ การเตรียมการก่อนการผลิต
        - Production คือ การดำเนินการถ่ายทำ
        - Post-Production คือ การตัดต่อและการนำเสนอ
ดังนั้น การจะสร้างงานออกมาให้ดีและเป็นที่น่าสนใจ เราจำเป็นต้องเตรียมการในเรื่องเหล่านี้
        - Concept & Theme
        - Script & Story Board
               Concept & Theme เป็นการกำหนดแนวคิดและทิศทางของคลิปวีดีโอเรา รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอ เช่น คลิป"ส่งเสริมการปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว" มี Concept คือ ต้องนำเสนอความสนุกสนานในการปั่นจักรยานไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ดังนั้น Theme ของเรื่องนี้ก็คือ สถานที่และเส้นทาง ที่สวยงาม ... ซึ่งจะส่งผลต่อ Script และ Storyboard จะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน
               Script สคริปต์ หรือ บท คือรายละเอียดของตัวละคร, ฉาก, มุมกล้อง, การตัดต่อ, ตัวหนังสือ, เสียงประกอบ ... ฯลฯ ทุกอย่างต้องระบุในสคริปต์ทั้งหมด เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตามที่ต้องการ
               Story board ตามหลักการของการสร้างภาพยนตร์ เป็นภาพวาดแบบร่าง ที่สร้างขึ้นจากสคริปต์ หากระบุรายละเอียดได้มาก การทำงานจะสะดวกมากขึ้น ในทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จะสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ 3D-Animation บันทึกเสียงประกอบแบบภาพยนตร์จริงๆ ... แต่สำหรับระดับเราๆ สร้างคลิปวีดีโออัพขึ้น Youtube คงไม่ต้องถึงขนาดนั้น เอาแบบง่ายๆ ก็คือภาพ sketch ใน shot ต่างๆ พร้อมคำบรรยาย หรือ บทสนทนา เป็นการช่วบลำดับเหตุการณ์
               ส่วนประกอบของ Story Board ตัวละคร / ฉาก / เรื่องราว มุมกล้อง เสียง / คำบรรยาย เวลา
               ประโยชน์ของ Story Board ช่วยควบคุมเรื่องราวให้อยู่ใน Concept ที่วางไว้ ลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลัง ทราบเวลาที่ใช้คร่าาวๆ ดังนั้นพอสรุปขั้นตอนคร่าวๆ ได้ดังนี้ กำหนด Theme เขียนเรื่องย่อ กำหนดตัวละคร / ฉาก เขียนบท เขียน Story Board ถ่ายทำ -> ภาพนิ่ง/วีดีโอ ตัดต่อ -> Sony vegas นำเสนอผลงาน --> Youtube

ที่มา : http://www.tigersmile.net/2014/10/blog-post.html